วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การสร้างเสริมสัมพันธภาพ

การสร้างเสริมสัมพันธภาพ
            
การมีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นในสังคม จะทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัว สร้างความยอมรับ ความรักใคร่สมัครสมานสามัคคี และความร่วมมือในกลุ่มเพื่อนและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการสร้างเสริมสัมพันธภาพจึงเป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้เกิดความสำเร็จและความสุขในการดำเนินชีวิต



ความหมายและความสำคัญของสัมพันธภาพ
          
สัมพันธภาพ (relationship) หมายถึง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล อันจะทำให้เกิดความรัก ความนับถือ และความร่วมมือ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข มนุษย์ไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม จึงมีต้องการติดต่อสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นจะทำให้การติดต่อ และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นเป็นไปได้ด้วยดีทำให้เกิดความสุขการดำเนินชีวิตในที่สุด



หลักการสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีของบุคคล
     
การสร้างเสริมสัมพันธภาพหรือมิตรภาพที่ดีกับผู้อื่นนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเอง โดยจะต้องรู้จักปรับปรุงตนเองก่อน ซึ่งหลักทั่วไปในการ ปฏิบัติมีดังนี้
     
1. การสร้างหรือแก้ไขหรือทำให้ตัวเองมีอารมณ์เป็นผุ้ใหญ่ ได้แก่ การเป็นคนมีอารมณ์หนักแน่น ไม่มีความหวาดกลัว หวาดระแวง ไม่อ่อนแอจนต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา แต่ก็ไม่ใช่เป็นคนแข็งจนกระด้าง และ ลักษณะเช่นนี้จะต้องมีความสมบูรณ์ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลงผันแปรง่าย
     
2. การรู้จักปรับตนเองให้เข้ากับบุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ การรู้จักปรับปรุงตนเองให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ หรือให้สอดคล้องกับความผันแปรของสังคมนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก ถ้าเรารู้จัก บทบาทของตนเองว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรในโอกาสไหนแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีข้อขัดแย้งกับใคร
     
3. การรู้จักสังเกต รู้จด  และรู้จำ การสังเกตจะช่วยให้เราสามารถเข้ากับทุกคน ทุกชั้น ทุกเพศ และทุกวัยได้ดี เช่น มารยาทในสังคมจะปฏิบัติได้ดีหรือไม่ดีจะอยู่ที่การสังเกตแล้วนำมาปฏิบัติถ้าหมั่นสังเกตก็จะจำได้ แต่ถ้าจำไม่ได้ก็ควรจดบันทึกไว้แม้กระทั่งผู้ที่เคยพบกันหรือขอความช่วยเหลือจากเขาเพื่อกันลืม เพราะถ้าหามลืมหรือจำเขาไม่ได้อาจถูกตำหนิได้ว่าเป็นคนหยิ่งยโสหรือลืมคุณคนทำให้เกิดความขัดเคืองใจกันได้
     
4. การรู้จักตนเอง รู้จักประมาณตน และรู้จักสถานการณ์ของตน คุณลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนรู้จักลดทิฐิ และเห็นความสำคัญของผู้อื่น ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่เขาด้วย
     
5. การรู้จักสาเหตุและใช้เหตุผล การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์วู่วาม จะทำให้การคบหาสมาคมหรือปฏิบัติงานร่วมกันดำเนินไปด้วยดี
     
6. การมีความมั่นใจในตนเอง  รู้จักเป็นตัวของตัวเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น