วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

รายวิชาสุขศึกษา

การสร้างเสริมสัมพันธภาพ  
รายวิชาสุขศึกษา  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557

สมาชิกในกลุ่ม

นางสาวโชษิตา            จารุโภคาวัฒน์                ม.4/3        เลขที่ 1
นายก้องเกียรติ             พรโสม                         ม.4/3        เลขที่ 9
นายพัฒนพงษ์             หวังสว่าง                      ม.4/3        เลขที่ 16
นายศุภวิชญ์                บุญญศาสตร์พันธ์            ม.4/3        เลขที่ 23

การสร้างเสริมสัมพันธภาพ

การสร้างเสริมสัมพันธภาพ
            
การมีสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน และบุคคลอื่นในสังคม จะทำให้เกิดมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน สร้างความอบอุ่นในครอบครัว สร้างความยอมรับ ความรักใคร่สมัครสมานสามัคคี และความร่วมมือในกลุ่มเพื่อนและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นการสร้างเสริมสัมพันธภาพจึงเป็นสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้และนำไปปฏิบัติเพื่อจะได้เกิดความสำเร็จและความสุขในการดำเนินชีวิต



ความหมายและความสำคัญของสัมพันธภาพ
          
สัมพันธภาพ (relationship) หมายถึง ความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล อันจะทำให้เกิดความรัก ความนับถือ และความร่วมมือ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ การอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นได้อย่างมีความสุข มนุษย์ไม่สามารถที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม จึงมีต้องการติดต่อสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นจะทำให้การติดต่อ และการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นเป็นไปได้ด้วยดีทำให้เกิดความสุขการดำเนินชีวิตในที่สุด



หลักการสร้างเสริมสัมพันธภาพที่ดีของบุคคล
     
การสร้างเสริมสัมพันธภาพหรือมิตรภาพที่ดีกับผู้อื่นนั้นจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเอง โดยจะต้องรู้จักปรับปรุงตนเองก่อน ซึ่งหลักทั่วไปในการ ปฏิบัติมีดังนี้
     
1. การสร้างหรือแก้ไขหรือทำให้ตัวเองมีอารมณ์เป็นผุ้ใหญ่ ได้แก่ การเป็นคนมีอารมณ์หนักแน่น ไม่มีความหวาดกลัว หวาดระแวง ไม่อ่อนแอจนต้องพึ่งผู้อื่นตลอดเวลา แต่ก็ไม่ใช่เป็นคนแข็งจนกระด้าง และ ลักษณะเช่นนี้จะต้องมีความสมบูรณ์ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลงผันแปรง่าย
     
2. การรู้จักปรับตนเองให้เข้ากับบุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ การรู้จักปรับปรุงตนเองให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ หรือให้สอดคล้องกับความผันแปรของสังคมนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นมาก ถ้าเรารู้จัก บทบาทของตนเองว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรในโอกาสไหนแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีข้อขัดแย้งกับใคร
     
3. การรู้จักสังเกต รู้จด  และรู้จำ การสังเกตจะช่วยให้เราสามารถเข้ากับทุกคน ทุกชั้น ทุกเพศ และทุกวัยได้ดี เช่น มารยาทในสังคมจะปฏิบัติได้ดีหรือไม่ดีจะอยู่ที่การสังเกตแล้วนำมาปฏิบัติถ้าหมั่นสังเกตก็จะจำได้ แต่ถ้าจำไม่ได้ก็ควรจดบันทึกไว้แม้กระทั่งผู้ที่เคยพบกันหรือขอความช่วยเหลือจากเขาเพื่อกันลืม เพราะถ้าหามลืมหรือจำเขาไม่ได้อาจถูกตำหนิได้ว่าเป็นคนหยิ่งยโสหรือลืมคุณคนทำให้เกิดความขัดเคืองใจกันได้
     
4. การรู้จักตนเอง รู้จักประมาณตน และรู้จักสถานการณ์ของตน คุณลักษณะเช่นนี้จะทำให้คนรู้จักลดทิฐิ และเห็นความสำคัญของผู้อื่น ซึ่งจะสร้างความพึงพอใจให้แก่เขาด้วย
     
5. การรู้จักสาเหตุและใช้เหตุผล การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์วู่วาม จะทำให้การคบหาสมาคมหรือปฏิบัติงานร่วมกันดำเนินไปด้วยดี
     
6. การมีความมั่นใจในตนเอง  รู้จักเป็นตัวของตัวเอง 

บุคคลในครอบครัว

การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัว
          
การได้อยู่ในครอบครัวที่มีความสัมพันธภาพอบอุ่นเป็นความสุขอย่างหนึ่งที่คนทุกเพศทุกวัยและทุกฐานะ ปรารถนาและเป็นกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพจิตที่แข็งแรงสมบูรณ์
          
สมาชิกในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือลูกก็ตามที่ได้อยู่ในครอบครัวอันอบอุ่นจะรู้สึกว่าอยากกลับบ้านเมื่อเลิกงานหรือเลิกเรียน อยากมีกิจกรรมกับคนที่บ้าน เช่น รับประทานอาหารเย็นร่วมกันเล่นกีฬาร่วมกัน มีข่าวร้ายข่าวดีอยากบอกคนที่บ้าน เพื่อให้ความช่วยเหลือหรือร่วมดีอกดีใจด้วย


          
ส่วนครอบครัวที่มีสัมพันธภาพไม่ดีนั้นไม่มีใครอยากอยู่บ้าน ไม่มีใครอยากปฏิบัติกิจกรรมร่วมกับใครทุกคนไขว่คว้าหาความสุขนอกบ้าน จะกลับบ้านเมื่อจำเป็น เช่น เงินหมด หรือต้องการพักผ่อนนอนหลับเท่านั้น สัมพันธภาพในครอบครัวเริ่มต้นจากความรักความอบอุ่นของสามีภรรยาที่ดีต่อกัน เมื่อมีลูกสัมพันธภาพนั้นจะขยายไปสู่ลูก เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ ลูก ซึ่งทุกคนเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับประกอบกับมีความผูกพันทางสายเลือดของพ่อแม่ที่มีต่อลูก ครอบครัวจึงเป็นแหล่งความรัก ความอบอุ่นที่สำคัญและยั่งยืนกว่าสัมพันธภาพใดๆ การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
        
1. ความผูกพันในครอบครัว สามีภรรยาต้องช่วยกับประคับประคองชีวิตครอบครัวให้ราบรื่นมั่นคงและช่วยกันเลี้ยงดูลูกด้วยความรักและเอาใจใส่ ในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกันใหม่ๆ ความผูกพันฉันสามีภรรยาและพ่อแม่ลูกที่เคยมีถูกตัดหายไป คนเหล่านี้จะรู้สึกขาดความรักความอบอุ่น ถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยเฉพาะเด็กที่ยังพึ่งตนเองไม่ได้จะรู้สึกว้าเหว่มาก ดังนั้นการที่จะสร้างเสริมสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวจึงจำเป็นต้องรักษาความผูกพันไว้เป็นอันดับแรก ความผูกพันระหว่างแม่กับลูกนั้นเป็นความผูกพันที่แน่นแฟ้นด้วยการที่แม่เป็นผู้ให้กำเนิดและฟูมฟักดูแลจนลูกเจริญเติบโต ส่วนผู้เป็นพ่อนั้นมีความผูกพันการลูกด้วยการช่วยเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครองเป็นตัวอย่าง และชี้แนะแนวทางให้ลูกเดินในทางที่ถูกต้อง สำหรับผู้เป็นลูกนั้นก็ควรให้ความเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนอบรมของพ่อแม่ และแสดงความรักต่อพ่อแม่โดยการขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน ประพฤติตนเป็นคนดี ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ไม่เกเร เสพสารเสพติด เล่นการพนัน รวมทั้งปฏิบัติกิจกรรมภายในยามว่างร่วมกับครอบครัว เช่น ออกกำลังกายร่วมกัน ไปเที่ยวนอกบ้านด้วยกัน นอกจากนี้ความผูกพันที่ครอบครัวไม่ควรละเลยอีกประการหนึ่ง คือ ความกตัญญูต่อปู่ย่าตายาย การให้ความรักเอาใจใส่ ตอบแทนพระคุณท่านที่ได้เลี้ยงดูแลเรามา

2.การเอาใจใส่ คือ การให้ความสนใจและสนับสนุนตามความต้องการอย่างเหมาะสม การเอาใจใสต้องมีความพอดี เช่น ลูกจะเรียนแล้วกลับบ้านกี่โมงก็ได้ไม่มีใครสนใจ จะทำให้ครอบครัวมีสภาพเหมือนต่างคนต่างอยู่ การเอาใจใส่มากเกินไปก็จะทำให้รำคาญ ไม่เป็นตัวของตัวเองนอกจากนี้การเอาใจใส่ต้องมีความเป็นธรรม ได้รับความสำคัญเท่าเทียมกันทุกคนไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือลูกก็ตาม การเอาใจใส่ที่ควรระมัดระวัง คือ การใช้เงินทดแทนการเอาใจใส่ พ่อแม่ไม่มีเวลาก็ให้เงินลูกไว้ใช้เที่ยวเตร่หรือซื้อของตามที่ต้องการ เมื่อถึงวันเกิดก็ซื้อของมียี่ห้อราคาแพงให้เพื่อแสดงถึงความสนใจใส่ใจของพ่อแม่ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความอบอุ่นแบบจอมปลอมและความเป็นนักวัตถุนิยมให้แก่ลูก
        
3.ความเข้าใจ คำนี้เป็นปัญหาสำหรับครอบครัวเสมอมา สามีภรรยาไม่เข้าใจกัน พ่อแม่ไม่เข้าใจลูกลูกไม่เข้าใจพ่อแม่ สิ่งที่ครอบครัวควรเข้าใจกันก็คือ ลักษณะนิสัยใจคอ ข้อดี ข้อบกพร่องของแต่ละคนเพื่อเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันหรือปรับตัวเข้าหากัน เช่น พ่อชอบบ้านที่เงียบสงบแต่แม่ชอบบ่น พ่ออาจจะต้องพูดคุยกับแม่ถึงเรื่องหรือสาเหตุที่ทำให้แม่รำคาญใจ ส่วนพ่อก็ปรับปรุงแก้นิสัยของตนเองให้แม่เกิดความพอใจ เมื่อพ่อแก้ไขแล้วแม่ก็ควรลดหรือหยุดพฤติกรรมการบ่น    
        
4.การพูดจา เป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างหรือทำลายสัมพันธภาพอันอบอุ่นในครอบครัว นอกจากการพูดจาสุภาพและให้เกียรติกันแล้ว สมาชิกในครอบครัวควรรู้จักการแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกัน เช่น การแสดงความรัก คำชมเชย การให้กำลังใจ การปลอบใจ การพูดถึงข้อดีและข้อเสนอแนะให้แก้ไขปรับปรุง ส่วนเมื่อเกินความไม่พอใจหรือความขัดแย้ง ควรหาโอกาสพูดหรือสื่อให้สมาชิกในครอบครัวได้เข้าใจถึงความรู้สึกเพื่อปรับความเข้าใจกัน และในครอบครัวจะไม่มีการพูดจาเกิดขึ้นเลยถ้าไม่มีการฟัง ดังนั้นนอกจากการพูดแล้วทุกคนควรยอมรับการรับฟังและความคิดเห็นของกันและกันด้วย  

สิ่งที่มักจะเป็นอุปสรรคสำคัญของการสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัว ได้แก่
   
      1.การอ้างว่าไม่มีเวลา  ต้องทำมาหากิน  แต่ถ้าเห็นสัมพันธภาพที่อบอุ่นของครอบครัวมีคุณค่าต่อจิตใจของทุกคนในครอบครัว  คำกล่าวอ้างนั้นอาจหายไปหรือลดน้อยลง
   
      2.การอ้างว่าให้แล้ว  เช่น  ให้เงินลูกแล้วอยากได้อะไรก็ไปซื้อเอาเอง  ให้เวลากับครอบครัวแล้วแต่เวลาที่ให้คือดูรายการโทรทัศน์ร่วมกัน

      3.การอ้างว่าจะทำให้เหลิง  คำนี้มักเป็นคำอ้างของพ่อที่ไม่อยากแสดงท่าทางให้ลูกรู้ว่าพ่อรักลูก  ทำให้ลูกกลัวไม่กล้าใกล้ชิดพ่อ  ซึ่งบางครั้งกว่าจะถึงเวลาที่พ่อบอกว่ารักลูกก็สายเกินไปเสียแล้ว  ความรักความอบอุ่นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ  ดังนั้นต้องช่วยกันสร้างสัมพันธภาพที่อบอุ่นเพื่อความสุขของทุกๆคนในครอบครัว

เพื่อน

การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อน

เพื่อนมีความจำเป็นต่อคนเรา  เพราะเราไม่สามารถอยู่อย่างโดดเดี่ยวเพียงลำพังได้  โดยเฉพาะวัยรุ่นจะให้ความสำคัญกับเพื่อนเป็นอย่างมาก  การได้อยู่กับเพื่อนวัยเดียวกันจะทำให้วัยรุ่นมีผู้ที่คอยร่วมทุกข์ร่วมสุข ปรับทุกข์ เพราะต่างก็มีปัญหาคล้ายกัน  ดังนั้น  วัยรุ่นจึงมีความปรารถนาที่จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน  เพราะจะนำมาซึ่งการยอมรับนับถือ  ความสัครสมานสามัคคี  และร่วมมือกันระหว่างกัน


                
การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับเพื่อนมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
              
1.  รู้จักตนเองและรู้จักผู้อื่น  นักเรียนต้องมีความเข้าใจในความต้องการของตนและของเพื่อน  ยอมรับสภาพความเป็นจริงของตน ไม่ยึดถือข้อบกพร่องใดๆ ในร่างกายของตนเป็นปมด้อยจนขาดความมั่นใจในการคบหากับผู้อื่น  และยอมรับความแตกต่างในตัวเพื่อนกับตัวเอง  ไม่อิจฉาริษยาเพื่อนที่มีฐานะดีกว่าหรือมีความสามารถมากกว่า  และไม่ยกตนข่มท่านหรือดูถูกเหยียดหยามเพื่อนที่ด้อยกว่าตน  แต่ให้ยินดีกับความสำเร็จของเพื่อน  และคอยช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนหากมีโอกาส
              
2.  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  รู้จักพูด  รู้จักฟัง  เรียนรู้ที่จะพูดเรื่องต่างๆในจังหวะที่เหมาะสมเปิดโอกาสให้เพื่อนได้แสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน เอาใจใส่ในตัวเพื่อน และให้ความสำคัญกับเพื่อนด้วยความบริสุทธิ์ใจ  ตลอดจนมีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อเพื่อน
               
3.  มองโลกในแง่ที่เป็นจริง  ไม่มองในแง่ดีจนเกินไป อันอาจถูกหลอกหลวงและคดโกงได้  แต่ก็ไม่ควรมองคนในแง่ร้ายจนเกินไป  เพราะจะทำให้เป็นคนใจแคบ  ไม่รู้จักการให้อภัย
               
4.  มีน้ำใจนักกีฬา  ยอมรับผิดเมื่อรู้ว่าตนผิด  ปฏิเสธในสิ่งที่ตนไม่สามารถทำได้  เมื่อให้สัญญาอย่างไรไว้กับใครก็ต้องพยายามทำตามสัญญานั้นให้ดีที่สุด  นอกจากนี้ยังต้องรู้จักเสียสละและให้อภัยแก่เพื่อนเมื่อเกิดข้อผิดพลาด  โดยทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดนั้น  และร่วมมือกับปรับปรุงแก้ไขตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไป
              
5.  รู้จักแนะนำและชักชวนเพื่อนปฏิบัติกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา เล่นดนตรี  เรียนภาษาอังกฤษ เรียนคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมในกิจกรรมพัฒนาต่างๆ ในชุมชุน โดยเลือกตามความสนใจและมีความเหมาะสมกับตนเอง จะได้เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์


บุคคลทั่วไป

การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป
              
การมีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นในสังคมจะทำให้เราเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือ  ความพอใจรักใคร่ ความร่วมมือที่ดี และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข      การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไปมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

1.  รู้จักยอมรับคำติชม  เช่น รับฟังความคิดเห็นหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นเกี่ยวกับตัวเราเองด้วยความเต็มใจ เป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างตัวเอง  และสามารถควบคุมอารมณ์ได้

2.  รู้จักมีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี และควรเป็นคนยิ้มง่าย   การที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม  กิริยาท่าทางร่าเริงแจ่มใส  และเป็นผู้ที่มรอารมณ์ขัน  เป็นบุคลิกลักษณะที่ดีและเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ผู้พบเห็นหรือคบหาสมาคมด้วยรู้สึกนิยมชมชอบ เกิดความสุขความสบายใจ นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การต้อนรับและความร่วมมือที่ดี

3.  รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน  ไม่คุยโอ้อวดความสามารถของตน  ไม่พูดจาดูถูกหรือยกตนข่มผู้อื่น  และรู้จักยอมรับข้อบกพร่องหรือความด้อยของตนเองในด้านต่างๆ

4.  รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เช่น หน้าที่สำคัญของนักเรียน คือ เรียน ครูมีหน้าที่ให้การศึกษาอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา ถ้าทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่แล้วปัญหายุ่งยากต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น

5.  รู้จักประนีประนอม เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคขึ้นควรมีการประนีประนอมหรือรอมชอมกัน ซึ่งแนววิธีการที่คนเราตกลงกันได้อย่างยุติธรรมและมีเหตุผล

6.  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้คิดเสมอว่าอะไรที่เราเองไม่ชอบ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำต่อเรา ก็จงอย่ากระทำสิ่งนั้นต่อบุคคลอื่น และถ้าต้องการให้บุคคลอื่นกระทำสิ่งใดต่อเรา ก็จงกระทำสิ่งนั้นต่อเขา

7.  รู้จักให้กำลังคนอื่น เช่น ยกย่องให้เกียรติ ให้กำลังใจผู้อื่นด้วยความชมเชย รู้จักแสดงความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จของเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนร่วมงาน

8.  รู้จักไว้วางใจคนอื่น คือ รู้จักไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่นบ้างพอสมควร เพราะคนอื่นอาจจะมีความสามารถด้านต่างๆได้เช่นเดียวกับเรา นอกจากนี้บางครั้งการประเมินค่าความสามารถของผู้อื่นด้อยเกินไปอาจนำมาซึ่งความผิดหวังได้ด้วย

9.  รู้จักร่วมมือกับคนอื่น เช่น การให้ความร่วมมือกับหมู่คณะในการประกอบกิจกรรมต่างๆของส่วนรวมด้วยความเต็มใจ เพราะการเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ได้ย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม

10. รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ควรใช่ทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นโดยพลการ ไม่ก้าวก่ายหรือละเมิดสิทธิซึ่งเป็นผลประโยชน์อันชอบธรรมของผู้อื่น




แหล่งอ้างอิง
- http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Skill.htm
- http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539338363&Ntype=87
- https://sites.google.com/site/karsrangserimsamphanthphaph/2-5-kar-srang-serim-samphanthphaph-kab-bukhkhl-thawpi