วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บุคคลทั่วไป

การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป
              
การมีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่นในสังคมจะทำให้เราเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือ  ความพอใจรักใคร่ ความร่วมมือที่ดี และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข      การสร้างเสริมสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไปมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

1.  รู้จักยอมรับคำติชม  เช่น รับฟังความคิดเห็นหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นเกี่ยวกับตัวเราเองด้วยความเต็มใจ เป็นธรรม ไม่ลำเอียงเข้าข้างตัวเอง  และสามารถควบคุมอารมณ์ได้

2.  รู้จักมีอารมณ์ขัน มองโลกในแง่ดี และควรเป็นคนยิ้มง่าย   การที่มีใบหน้ายิ้มแย้ม  กิริยาท่าทางร่าเริงแจ่มใส  และเป็นผู้ที่มรอารมณ์ขัน  เป็นบุคลิกลักษณะที่ดีและเป็นเสน่ห์ที่ทำให้ผู้พบเห็นหรือคบหาสมาคมด้วยรู้สึกนิยมชมชอบ เกิดความสุขความสบายใจ นับเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การต้อนรับและความร่วมมือที่ดี

3.  รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน  ไม่คุยโอ้อวดความสามารถของตน  ไม่พูดจาดูถูกหรือยกตนข่มผู้อื่น  และรู้จักยอมรับข้อบกพร่องหรือความด้อยของตนเองในด้านต่างๆ

4.  รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ เช่น หน้าที่สำคัญของนักเรียน คือ เรียน ครูมีหน้าที่ให้การศึกษาอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา ถ้าทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่แล้วปัญหายุ่งยากต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้น

5.  รู้จักประนีประนอม เมื่อเกิดปัญหาหรืออุปสรรคขึ้นควรมีการประนีประนอมหรือรอมชอมกัน ซึ่งแนววิธีการที่คนเราตกลงกันได้อย่างยุติธรรมและมีเหตุผล

6.  รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ให้คิดเสมอว่าอะไรที่เราเองไม่ชอบ ไม่ต้องการให้ผู้อื่นกระทำต่อเรา ก็จงอย่ากระทำสิ่งนั้นต่อบุคคลอื่น และถ้าต้องการให้บุคคลอื่นกระทำสิ่งใดต่อเรา ก็จงกระทำสิ่งนั้นต่อเขา

7.  รู้จักให้กำลังคนอื่น เช่น ยกย่องให้เกียรติ ให้กำลังใจผู้อื่นด้วยความชมเชย รู้จักแสดงความชื่นชมยินดีต่อความสำเร็จของเพื่อนร่วมห้อง เพื่อนร่วมงาน

8.  รู้จักไว้วางใจคนอื่น คือ รู้จักไว้เนื้อเชื่อใจคนอื่นบ้างพอสมควร เพราะคนอื่นอาจจะมีความสามารถด้านต่างๆได้เช่นเดียวกับเรา นอกจากนี้บางครั้งการประเมินค่าความสามารถของผู้อื่นด้อยเกินไปอาจนำมาซึ่งความผิดหวังได้ด้วย

9.  รู้จักร่วมมือกับคนอื่น เช่น การให้ความร่วมมือกับหมู่คณะในการประกอบกิจกรรมต่างๆของส่วนรวมด้วยความเต็มใจ เพราะการเป็นผู้ที่เห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ได้ย่อมเป็นที่รังเกียจของสังคม

10. รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ควรใช่ทรัพย์สิ่งของของผู้อื่นโดยพลการ ไม่ก้าวก่ายหรือละเมิดสิทธิซึ่งเป็นผลประโยชน์อันชอบธรรมของผู้อื่น




แหล่งอ้างอิง
- http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Skill.htm
- http://www.legendnews.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539338363&Ntype=87
- https://sites.google.com/site/karsrangserimsamphanthphaph/2-5-kar-srang-serim-samphanthphaph-kab-bukhkhl-thawpi

1 ความคิดเห็น: